top of page

10 สิ่งที่ทั้งแปลกและคูลในแคนาดา

แคนาดา เป็นประเทศที่คนไทยหลายคนปรารถนาจะไปเรียนต่อ อยู่อาศัย จนกระทั่งการทำงาน ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจาก ความสวยงามของประเทศ รูปแบบวิถีชีวิต รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้แคนาดา กลายมาเป็นตัวเลือกยอดนิยมไม่แพ้ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ในช่วงหลังมานี้


แต่ก่อนจะไปเยือนถึงถิ่นแคนาดา ชาวแคนาเดียนเลิฟเวอร์จะต้องรู้วัฒนธรรมคร่าวๆกันก่อน ซึ่งวันนี้ AEG จะพาทุกคนไปรู้จักถึงความเป็นแคนาดาที่ทั้งแปลกแต่ก็เทห์สุดๆในเวลาเดียวกัน กับ 10 สิ่งที่แปลกและคูลในประเทศแคนาดา


 

1. ใช้ 'เมเปิ้ลไซรัป' กับทุกสิ่ง!

Maple Syrup เป็นวัตถุดิบชั้นดีของแคนาดาและพวกเขาชื่นชอบกันมากๆ แม้ทุกสิ่งจะไม่สามารถเข้ากับเมเปิ้ลไซรัปได้แต่ชาวแคนาเดียนก็จะพยายามใช้มันไปกับอาหารให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ถือเป็นของที่ต้องมีติดครัวกันเลยทีเดียว อย่างมื้อเช้าก็ต้องมีนะ ขาดไม่ได้เชียวล่ะ!


จากวิถีดั้งเดิมชาวแคนาเดียนมักใช้ #เมเปิ้ลไซรัป ไปกับแพนเค้กหรือวาฟเฟิล พอพัฒนาเข้าหน่อยก็นำไปราดกับพวกผักย่างหรือเบคอนย่าง!


 

2. อาจได้สัมผัสกับ 4 ฤดูใน 1 วัน!

ในแคนาดา บางฤดูคุณอาจต้องเผชิญกับอากาศแปรปรวนแบบขั้นสุด ซึ่งในประวัติศาสตร์แคนาดาในปี 1962 เคยเกิดอากาศเปลี่ยนฉับพลันตั้งแต่ -19 องศาเซลเซียสไปจนถึง 22 องศาเซลเซียสภายใน 1 ชั่วโมง! ถึงแม้ทุกวันนี้อาจไม่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นแล้ว แต่ก็ไม่แปลกหากคุณจะเจอกับสภาพอากาศที่ไม่เหมือนกันวันต่อวัน โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนจากหน้าหนาวสู่ฤดูใบไม้พลิ


 

3. ชาวแคนาเดียนใช้ ‘คำขอโทษ’ กันบ่อยมาก

แคนาดาเป็นประเทศที่มักจะติดพูด Sorry กันมาก ถือว่าเป็นการแสดงความเกรงใจและดูน่ารักดี ซึ่งบางทีอาจมากเกินไปด้วยซ้ำ แม้แต่ป้ายเตือนต่างๆที่ติดไว้เป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับก็ยังต้องมีป้ายเล็กๆต่อลงมาว่า ‘Sorry’ อีกด้วย!


 

4. ธนบัติโดนน้ำ-มองทะลุได้

ข้อนี้อาจไม่ใช่เรื่องแปลก แต่น่าสนใจไม่แพ้กัน ธนบัตรใหม่ของแคนาดาทำมาจากพลาสติก ถูกสร้างมาให้ทนต่อความร้อนสูงและสามารถนำเข้าเครื่องซักผ้าได้สบายๆ เพราะฉะนั้นใครที่ชอบลืมแบงค์ไว้ในกระเป๋าบ่อยๆ หากไปอยู่แคนาดาก็เลิกกังวลข้อนี้ไปได้เลย


นอกจากแคนาดาแล้ว ยังมีประเทศที่มีการผลิตธนบัติจากพลาสติกอื่นๆได้แก่ เวียดนามและนิวซีแลนด์ ธนบัตรของแคนาดาเป็นเพียงประเทศเดียวที่ออกแบบมาให้สามารถมองทะลุได้ทั้ง 2 ฝั่ง


 

5. ชาวแคนาเดียนชื่นชอบกาแฟแบรนด์ Tim Hortons

Tim Hortons เป็นแบรนด์ดั้งเดิมที่อยู่คู่กับชาวแคนาเดียน และจะต้องเป็น Drip Coffee เท่านั้น! กรรมวิธีการทำกาแฟแบบคลาสสิกที่ยังเป็นที่นิยมมากในแคนาดา


 

6. แคนาดามีภาษาอังกฤษเป็นของตัวเอง!

ถึงแม้ภาษาอังกฤษของแคนาดาจะมีความคล้ายเพื่อนบ้านอย่างอเมริกามากๆ แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะแคนาดามีการสะกดคำและออกเสียงในบางคำที่ต่างจากอเมริกัน ส่วนมากมักถอดแบบมาจากบริทิชอิงลิช


เช่น


เก็บตัว ‘U’ ไว้ในบางคำ Ex. 'Colour'

แคนาเดียนจะออกเสียงอักษร ‘Z’ ว่า ‘Zed’

น้ำอัดลมที่อเมริกันใช้คำว่า ‘Soda’ แคนาดาจะใช้คำว่า ‘Pop’ แทน


 

7. ตั้งชื่อให้กับเหรียญดอลลาร์!


แคนาดาจะมีเหรียญ 1 ดอลลาร์ และ 2 ดอลลาร์แยกกัน ซึ่งทั้ง 2 เหรียญมีชื่อเรียกเป็นของตัวเองด้วยนะ โดยเหรียญ 1 ดอลลาร์จะชื่อว่า ‘Loonie’ มีที่มามาจากรูปสัญลักษณ์บนเหรียญที่เป็นสัตว์ประจำชาตินั่นก็คือ นกน้ำ หรือ loon bird ส่วนเหรียญ 2 ดอลลาร์มีชื่อว่า ‘Toonie’ โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปหมีโพลาร์ ถูกสร้างมาเพื่อทดแทน ธนบัตร 2 ดอลลาร์ในสมัยก่อน


 

8. เครื่องดื่มซิกเนเจอร์ วอดก้าผสมน้ำมะเขือเทศ!


เครื่องดื่มซิกเนเจอร์ของแคนาดาอาจไม่ถูกปากคนเกลียด น้ำมะเขือเทศ เท่าไหร่นัก เพราะที่นี่มีค็อกเทลชื่อว่า The Caesar เป็นเครื่องดื่มคล้ายกับ Bloody Mary มีส่วนผสมเป็นวอดก้าและ Clamato Juice (ได้จากการผสมของ Clam Juice และ Tomato Juice)


** Clam Juice เป็นวัตถุดิบของเหลวที่เป็นหมือนน้ำซุปจากหอยกาบ เอาไว้ใช้ทำอาหารหรือเป็นวัตถุดิบในเครื่องดื่มมึนเมา **


 

9. เพลงชาติแคนาดา

ครึ่งหนึ่งร้องเป็นภาษาอังกฤษ อีกครึ่งเป็นฝรั่งเศส


เรื่องนี้อาจไม่แปลกมากและบางคนอาจรู้อยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากภาษาทางการของแคนาดาได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส จึงทำให้ชาวแคนาเดียนต้องใช้ทั้ง 2 ภาษาอย่างเท่าเทียม เลยเป็นเหตุให้เพลงชาติแคนาดาต้องร้องครึ่งหนึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสและอีกครึ่งหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ


 

10. ขายนมเป็นถุง!


อาจไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร แต่บางคนอาจงุนงงสักหน่อยกับการซื้อนมที่นี่ ที่แคนาดามักจะนิยมขายนมกันเป็นถุงๆ ไม่ใช่ขวดหรือแกลลอนแบบที่ไทย โดยเฉพาะในแถบตะวันออกของแคนาดา ผู้ซื้อมักจะได้นมเป็น 1 ถุงใหญ่ที่บรรจุไปด้วย 4 ถุงเล็ก ซึ่งก็ต้องนำไปใส่เหยือกเอาเอง


จากข้อสงสัยว่าทำไมถึงต้องขายเป็นถุงล่ะ ? ชาวแคนาเดียนบางคนก็สันนิษฐานว่า นั่นเพราะการซื้อแบบถุงอาจจะถูกกว่าการซื้อแบบขวดแยกนั่นเอง

 

Source : THE TRAVEL

Kommentare


bottom of page